วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้

ความหมาย
การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการ (Process) ที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร อันเนื่อง
มาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการเพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และคำว่า พฤติกรรม นั้นไม่ใช่ หมายถึงการแสดงออกแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง
ศักยภาพ (Potential) หรือ ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในของแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็น
เป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างอาจไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ นักจิตวิทยาส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของประสบการณ์ หรือการฝึกหัดว่าเป็นสิ่งสำคัญในการก่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยอธิบายคำว่า "ประสบการณ์" หมายถึง เหตุการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแต่ละบุคคล เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะเน้นถึงเหตุการณ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น การได้ยินเสียง การเห็นภาพ การสัมผัส เป็นต้น
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการเรียนรู้คือจะต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ 2 อย่าง คือ
1.1 เหตุการณ์ที่เป็นสิ่งเร้า (Stimulus Events) การศึกษาในเรื่องสิ่งเร้านี้นักจิตวิทยาจะให้ความ
สำคัญกับเรื่องระดับความมาก - น้อย (Intensity) ของสิ่งเร้านั้น และระยะเวลา (Duration) ของ
การเกิดสิ่งเร้า
1.2 การตอบสนอง (Response events) การตอบสนองของอินทรีย์ คือพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่
สามารถสังเกตเห็นได้ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่ง

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม

1 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับ
การไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการ
วางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย
ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR)
และผงเนื้อ (UCS)
ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์

1.1 คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ
สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร
สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน
ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง
การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวาง
เงื่อนไขแล้ว

1.2 กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ

กระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้
การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่
ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง

การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูก
ลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข



2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือสกินเนอร์ โดยที่เขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวน
น้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่ง
เร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม" ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ



ซึ่งเขาเรียกย่อ ๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องกันไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอัน
นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
สำหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่งกล่องทดลองชองสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะ
ประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนู
ไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิด
การเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรม
ดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง

2.1 คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของสกินเนอร์
การเสริมแรง คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น 2 ประเภทคือ การเสริมแรงทางบวก คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น และการเสริมแรงทางลบ คือสิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้การแสดง
พฤติกรรมเพิ่มขึ้น

การลงโทษ การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบาย
ของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้ง
พฤติกรรม

เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้

พฤติกรรม



การเสริมแรง



เพิ่มพฤติกรรม
ก่อให้เกิดการกระทำ
พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
พฤติกรรม
การลงโทษ
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง
เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ
ชนิด
ผล
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดย
เฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคล
นั้นต้องการ
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้ว
ได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรง
เวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรงทางลบ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่
เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลด
น้อยหรือหมดไป
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนด
เวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป
ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำ
รายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดย
เฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิด
ขึ้น
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้ง
คำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้น
เลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่ง
เร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบ
ข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจาก
ครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่
ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก
ตัวชี้แนะ คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลา
ที่ต้องการ ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อย ๆ

ตัวกระตุ้น คือ การเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว

2.2 ตารางการให้การเสริมแรง
ในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมี
อิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก ตารางการให้การเสริมแรง สามารถแยกออกได้ ดังนี้


ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง

ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่
แสดงพฤติกรรม
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้ว
เห็นภาพ
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่
แน่นอน (Fixed - Interval)
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำ
การทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่
ไม่แน่นอน
(Variable - Interval)
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลา
ที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลา
ที่ต้องการ
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่แน่นอน
(Fixed - Ratio)
ให้การเสริมแรงโดยดูจาก
จำนวนครั้งของการตอบสนอง
ที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวน
ครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน
(Variable - Ratio)
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้ง
ของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่อง
เล่นสล๊อตมาชีน
(Slot machines)
2.3 การปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรม คือ การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับ
พฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน อย่างไรก็ตาม
จากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ พบว่าในหลาย ๆ ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการ
ชม แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ด้วย

หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ ควรจะมีลักษณะดังนี้
(1) ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง
(2) ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน
(3) ชมด้วยความจริงใจ

3.ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ ธอร์นไดน์ ได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือการที่ผู้เรียน
สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และได้รับความพึงพอใจที่จะทำให้เกิดการ
เรียนรู้ขึ้น

ในการทดลอง ธอร์นไดน์ได้สร้างกรงทดลองที่ทำด้วยไม้ ภายในกรงมีคานไม้ที่ยึดกับเชือก ซึ่งต่อไปยังประตู เพื่อให้
เปิด - ปิดได้เมื่อเหยียบคาน นำแมวมาขังไว้ในกรง นอกกรงมีปลาวางให้แมวสังเกตเห็นได้ เมื่อแมวหิวมันจะพยายาม
หาทางออกมากินอาหาร โดยพฤติกรรมของมันจะมีลักษณะแบบลองผิดลองถูก ด้วยความบังเอิญไปเหยียบถูกคานทำให้
ประตูเปิด แมวจึงออกมากกินอาหารได้ ในครั้งต่อมาเมื่อแมวหิน พฤติกรรมของมันจะไม่เป็นแบบครั้งแรกแต่จะใช้เวลา
ในการออกจากกรงได้เร็วขึ้นตามลำดับ แสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้แบบสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยง

3.1 กฎการเรียนรู้
ธอร์นไดน์ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญไว้ ดังนี้
(1) กฎแห่งผล กฎนี้ให้ความสำคัญกับผลที่ได้หลังจากการตอบสนองแล้ว ถ้าผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลนั้นมีแนว
โน้มที่จะแสดงพฤติกรรมมากยิ่งขึ้นตรงกันข้าม ถ้าผลที่ได้จากการตอบสนองไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลนั้นมีแนวโน้ม
ที่จะแสดงพฤติกรรมนั้นลดลง
(2) กฎแห่งการฝึก กฎนี้ให้ความสำคัญกับการฝึก โดยการเน้นว่าสิ่งใดก็ตามที่คนเราฝึกบ่อย ๆ เราจะทำสิ่งนั้นได้ดี ตรง
กันข้ามสิ่งใดก็ตามที่เรากระทำโดยขาดการฝึก เราย่อมทำไม่ได้ดีเหมือนเดิม นักจิตวิทยาได้แบ่งลักษณะการฝึกออกเป็น 2 ประเภท คือ การฝึกติดต่อกัน และการฝึกแบบให้พักเป็นระยะ ผลการศึกษาทดลองในเรื่องลักษณะการฝึกแสดงออก
ตามกราฟ
(3) กฎแห่งความพร้อม กฎแห่งความพร้อมนี้มีสาระสำคัญดังนี้ " เมื่อบุคคลพร้อมที่จะกระทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิด
ความพอใจ" "เมื่อบุคคลพร้อมจะกระทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ" และ "เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะกระทำ แต่ต้องกระทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ" จากหลักการดังกล่าวจะเน้นเรื่องความพร้อม ทั้งทางกายและทางจิตใจด้วย
การนำแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้กับการศึกษา สามารถกระทำได้ ดังนี้
การนำแนวความคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้กับการศึกษา

ความเชื่อพื้นฐาน
ตัวอย่าง
การนำมาใช้กับการศึกษา
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สบโชคไม่ตั้งใจเรียนเพราะบรรยา
กาศไม่น่าสนใจ
พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนเพื่อ
ส่งเสริมพฤติกรรมการสนใจเรียน
เน้นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ (สิ่งเร้าและการตอบสนอง




สมหวังแสดงพฤติกรรมบางอย่าง
เช่น คุย ทำงานอื่น แหย่เพื่อน
การตอบสนองของครูและเพื่อน
ในชั้นจะเป็นสิ่งเร้าต่อพฤติกรรม
ของสมหวัง
คิดถึงสิ่งเร้าต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัว
ก่อให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะ
สมของผู้เรียน


การเรียนรู้คือการเปลี่ยน
แปลงพฤติกรรม


พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของ
สมนึกเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ


อย่าเข้าใจว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจน
กว่าจะเห็นพฤติกรรมของผู้เรียน
เปลี่ยนไป
ความต่อเนื่องของเหตุการณ์



ชัยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เพื่อต้องการได้รับความสนใจ


ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ต้องจัดเหตุการณ์เพื่อส่งเสริมหรือ
ขัดขวางทันทีทันใด
หลักการเรียนรู้ที่เหมือนกัน
สามารถนำไปใช้ร่วมกันได้



สมหวังแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะ
สมเพื่อเรียกร้องความสนใจเปรียบ
ได้กับการที่หนูกดปุ่มเพื่อได้
รับอาหาร
นำหลักการทดลองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งศึกษาทดลองกับสัตว์ประเภทต่าง ๆ มาใช้กับสภาพการเรียนในชั้นเรียน



ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory)

ในระยะปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมีความคิดเห็นตรงกันว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำค่อน ข้างมีขีดจำกัดในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ ดังนั้นนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้หลายคนจึงขยายการศึกษาออกไปโดยหันไป
สนใจกระบวนการคิด ที่มีผลต่อการเรียนรู้ซึ่งเราไม่สามารถจะเห็นได้โดยตรง ผู้นำที่สำคัญคือ บันดูรา ได้ตั้งทฤษฎีชื่อ การเรียนรู้โดยการสังเกต โดยเขาได้อธิบายว่าการเรียนรู้ต้องเป็นปฏิสัมพันธ์กันและกันระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม

1. ลำดับขั้นการเรียนรู้
บันดูราได้แบ่งลำดับขั้นการเรียนรู้โดยการสังเกต ออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้

(1) ความสนใจ การเรียนรู้ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความสนใจและเอาใจใส่ต่อสิ่ง
ที่น่าสนใจ ที่เด่น เป็นต้น เช่น ในการเรียนการสอนครูจะต้องจัดเนื้อหาให้น่าสนใจ เป็นต้น
(2) ความจำ การที่ผู้เรียนจะแสดงพฤติกรรมตามแบบได้นั้นต้องอาศัยความจำ ซึ่งอาจจะกระทำได้โดย
อธิบายซ้ำ ๆ ให้ผู้เรียนเห็นหลาย ๆ ครั้ง ให้ฝึกบ่อย ๆ เป็นต้น
(3) การลงมือกระทำ เมื่อเริ่มกระทำตามใหม่ ๆ นั้น อาจจะไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะต้องอาศัยการแนะนำ
ฝึกฝนบ่อย ๆ
(4) การจูงใจและการเสริมแรง พฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่บุคคลจะทำตามก็ต่อเมื่อพฤติกรรมนั้นมีความน่า
สนใจ ดังนั้นการจูงใจและการเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก บันดูราได้แบ่งการเสริมแรงออก
เป็น 3 ลักษณะ คือ การเสริมแรงโดยตรง การเสริมแรงที่ได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น และการเสริมแรงตนเอง ซึ่งเป็นการเสริมแรงที่สำคัญเพราจะเป็นตัวควบคุมการแสดงพฤติกรรมได้ดี การเสริมแรงในลักษณะนี้คือ
การสร้างความสำเร็จให้กับตนเองเพื่อใช้เป็นแรงจูงใจในการทำพฤติกรรมต่าง ๆ

2. ผลที่ได้รับจากการเรียนรู้

(1) ทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ เช่น ดูตัวอย่างการเต้นรำ แล้วสามารถกระทำตามได้ หรือตัวอย่าง
ทักษะต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติงานในห้องทดลอง การดูตัวแบบ ที่ดีจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ
(2) เป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรม ที่สามารถกระทำได้แล้ว เช่น ทักษะการพูด ถ้าได้ดูตัวอย่างบุคคลที่
พูดเก่งก็จะทำให้มีความสามารถในการเรื่องการพูดได้ดีด้วย
(3) การเพิ่มหรือลดการไตร่ตรอง ในการแสดงพฤติกรรม พฤติกรรมที่ไม่ดีบางอย่างถ้าตัวแบบซึ่ง
เป็นผู้ที่เด่นหรือบุคคลที่สำคัญเป็นผู้กระทำ จะทำให้เกิดการทำตามอย่าง
(4) การดึงความสนใจ ต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เพราะโดยปกติแล้ว การสังเกตผู้อื่นเราจะ
ไม่สังเกตเพียงแค่การกระทำเท่านั้น แต่จะสังเกตสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
(5) การเร้าอารมณ์ การสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่นอาจก่อให้เกิดการมีลักษณะอารมณ์ร่วมด้วย
การนำแนวความคิดของกลุ่มการเรียนรู้ทางสังคมมาใช้กับการศึกษา

ความเชื่อพื้นฐาน
ตัวอย่าง
การนำมาใช้ทางการศึกษา
การเรียนรู้จากการสังเกต
ในวิชางานเชื่อมโลหะ ชาญดู
ครูผู้สอนอย่างสนใจ
ทำการสาธิตพฤติกรรมที่ต้อง
การให้ผู้เรียนมีทักษะ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่
เกิดขึ้นภายในซึ่งอาจจะแสดง
หรือไม่แสดงออกมาเป็น
พฤติกรรมก็ได้
ชาญเรียนรู้ที่จะเชื่อมโลหะได้ ถึงแม้ว่าเขาจะยังไม่ได้ทดลอง
ปฏิบัติด้วยตนเอง
บางครั้งการเรียนรู้อาจจะไม่ได้
แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทัน
ทีทันใด แต่เขาสามารถกระทำ
ได้เมื่อมีโอกาส
กระบวนการทางสมองมี อิทธิพลต่อการเรียนรู้
ชาญเอาใจใส่และพยายามจดจำ
วิธีการเชื่อมโลหะ
ไม่ควรจะพิจารณาเฉพาะการกระ
ทำของผู้เรียนเท่านั้น แต่ควรจะดู
ด้วยว่าผู้เรียนมีความคิด และความ
พยายามอย่างไร
เป็นพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย
ชาญมีจุดประสงค์ที่ต้องการทำงาน
ทางด้านเชื่อมโลหะเมื่อเขาเรียน
จบแล้ว
ช่วยผู้เรียนในการตั้งวัตถุประสงค์
ในการเรียนด้วย ตนเอง
เป็นพฤติกรรมที่สามารถควบ
คุมตนเองได้
ชาญพยายามฝึกฝนเทคนิค ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
กระตุ้นผู้เรียนให้ตั้งมาตรฐานในการ
กระทำและใช้ความพยายามไปสู่
มาตรฐานที่ตั้งไว้
อิทธิพลทางอ้อมของการเสริมแรง และการลงโทษ
คำชมเชยและคำตำหนิของครูมีผล
ต่อการแก้ไขในการฝึกหัดของชาญ
ศึกษากรรมวิธีการเสริมแรงและการลง
โทษเพื่อให้ผู้เรียนรู้ว่าสิ่งใดควรปฏิบัติ
และสิ่งใดไม่ควรปฏิบัติ

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitive Learning Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพุทธินิยมนี้ให้ความสำคัญกับความสามารถในการตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน ความตั้งใจ ความคิด ความจำ การคัดเลือก การให้ความหมายกับสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่ได้จากประสบการณ์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม
พฤติกรรมนิยมแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันดังนี้



กลุ่มพฤติกรรมนิยม : อินทรีย์สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการ ตอบสนองอันก่อให้เกิดความพึงพอใจ


กลุ่มพุทธินิยม : อินทรีย์ต้องนำสิ่งเร้ามาคิด วิเคราะห์ และให้ ความหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม



1. ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Insight Learning) ทฤษฎีการหยั่งรู้นี้เป็นการศึกษาทดลองของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเรียกว่า กลุ่มเกสตัลท์ ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยาที่สำคัญ 3 คน คือ เวอร์ไทเมอร์ คอฟฟ์ก้า และ เคอเลอร์

คำว่า เกสตัลท์ หมายถึง แบบแผนหรือภาพรวม โดยนักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้ให้ความสำคัญกับส่วนรวมหรือผลรวมมาก
กว่าส่วนย่อย ในการศึกษาวิจัย เขาได้พบว่าการรับรู้ข้อมูลของคนเรามักจะรับรู้ส่วนรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย
ในการเรียนรู้และการแก้ปัญหาก็เช่นเดียวกัน คนเรามักจะเรียนอะไรได้ก็ต้องศึกษาภาพรวมก่อน หลังจากนั้นจึงมา
พิจารณารายละเอียดปลีกย่อยจะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้นได้ชัดเจนขึ้น
การเรียนรู้ตามแนวทางของกลุ่มเกสตัลท์ จะมีลักษณะดังนี้

ภาพรวม
(Parts)


รายละเอียดปลีกย่อย
(Whole)


ภาพรวม
(Whole)
ความเข้าใจ
(Insight)
1.1 การทดลองของกลุ่มการเรียนด้วยการหยั่งรู้
การศึกษาทดลองของนักจิตวิทยากลุ่มนี้รู้จักกันแพร่หลาย คือ การศึกษาทดลองของเคอเลอร์โดยได้ทำการทดลองกับลิง
ชิมแฟนซี ชื่อ สุลต่าน เคอเลอร์ได้จับลิงมาขังไว้ในกรง นอกกรงมีกล้วยซึ่งวางอยู่ไกลจากกรง และมีไม้ขนาดสั้น - ยาว
วางเป็นลำดับ ไม้ท่อนสั้นสุดอยู่ในกรง เมื่อสุลต่านหิว มันจึงหยิบไม้ท่อนสั้นที่อยู่ใกล้กรงเขี่ยกล้วยแต่ปรากฏว่าเขี่ยไม่
ถึงมันจึงวางไม้ลง และนั่งอยู่มุมหนึ่งพร้อมทั้งมองดูไม้และกล้วยเฉย ๆ อยู่ และในทันใดนั่นเองสุลต่านก็จับไม้ท่อน
สั้นเขี่ยไม้ท่อนยาว แล้วจึงเอาไม้ท่อนยาวเขี่ยกล้วยมากินได้ จากพฤติกรรมดังกล่าวเคอเลอร์สรุปว่าสุลต่านเกิดการเรียน
รู้แบบหยั่งรู้คือ สามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องลองผิดลองถูก แต่ใช้ประสบการณ์เดิมจากการที่เคยเขี่ยสิ่งของต่าง ๆ ภายในกรงมาก่อนแล้ว

จากการศึกษาทดลองดังกล่าว นักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ที่เน้นการเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ จึงได้สรุปว่า โดยปกติแล้วคนเรา
จะมีวิธีการเรียนรู้และการแก้ปัญหา โดยอาศัยความคิดและประสบการณ์เดิมมากกว่าการลองผิดลองถูก เมื่อสามารถแก้
ปัญหาในลักษณะนั้นได้แล้ว เมื่อเผชิญกับปัญหาที่คล้ายคลึงกันก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ทันที ลักษณะดังกล่าวนี้เกิด
ขึ้นได้เพราะมนุษย์สามารถจัดแบบ (Pattern) ของความคิดใหม่เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ได้อย่างเหมาะสม

1.2 หลักการรับรู้
อิทธิพลจากแนวคิดของนักจิตวิทยา กลุ่มเกสตัลท์ที่อธิบายหลักการรับรู้ของมนุษย์ว่าเป็นพื้นฐาน สำคัญในการเรียนรู้มี
ผลให้นักการศึกษานำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ทั้งนี้เพราะการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนรู้ นักจิตวิทยากลุ่ม
เกสตัลท์อธิบายว่า การรับรู้ของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นอัตนัย และเห็นความสำคัญของส่วนรวมมากกว่ารายละเอียด
ปลีกย่อย กฎการรับรู้ที่สำคัญมี 4 ข้อ ดังนี้

(1) กฎแห่งความใกล้ชิด สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กัน มักจะถูกรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
(2) กฎแห่งความคล้าย สิ่งเร้าที่มองดูคล้ายกันจะถูกจัดว่าเป็นพวกเดียวกัน
(3) กฎแห่งความสมบูรณ์ สิ่งเร้าที่มีบางส่วนบกพร่องไปคนเราจะรับรู้โดยเติมส่วนที่ขาดหาย
ไปให้เป็นภาพหรือเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
(4) กฎแห่งการต่อเนื่องที่ดี สิ่งเร้าที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างดี จะถูกรับรู้ว่าเป็นพวก
เดียวกัน

2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ (Information Processing Modle of Learning) นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินินยมมีความสนใจว่ามนุษย์มีวิธีการรับข้อมูลใหม่อย่างไร เมื่อได้ความรู้แล้วมีวิธีการจำอย่างไร สิ่งที่เรียนรู้แล้วจะมีผลต่อการเรียนรู้ข้อมูลใหม่อย่างไร ปัจจุบันทฤษฎนี้กำลังได้รับความสนใจและนำไปใช้ประโยชน์
ได้มากในวงการศึกษา

2.1 ขั้นตอนการเรียนรู้
ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ มีดังนี้
สิ่งเร้า คือ สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ในขณะนั้น สิ่งเร้าในแต่ละขณะจะมีมากมาย นักจิตวิทยาเรื่องกระบวนการรับ
สัมผัสพบว่ามนุษย์มีความสามารถในการรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละครั้งอย่างมากที่สุด ได้ประมาณ 11 - 12 อย่าง
ระบบบันทึกการรับรู้ คือหน่วยบันทึกความจำหน่วยแรงของมนุษย์ ข้อมูลในขั้นนี้จะเป็นข้อมูลชนิดเดียวกับที่ได้รับรู้
มาระยะของความจำจะมีประมาณ 1 - 3 วินาที เพื่อให้บุคคลตัดสินใจว่า มีความสนใจในข้อมูลนั้นหรือไม่ ข้อมูลที่ไม่
ต้องการก็จะสูญหายไป ส่วนข้อมูลที่ต้องการก็จะเข้าสู่ความจำระยะสั้นต่อไป
ความใส่ใจ ในขั้นนี้จะเป็นการคัดเลือกข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจเข้าสู่ความจำระยะสั้น ในช่วงนี้เรื่อง "สมาธิ" ค่อนข้างมี
ความสำคัญมาก
การรู้จัก ในขั้นนี้จะเป็นการเก็บรายละเอียดของลักษณะข้อมูลที่สำคัญและนำมาสร้างความสัมพันธ์กับข้อมูลเดิม
ที่มีอยู่แล้ว
ความจำระยะสั้น เป็นสิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้เพราะเป็นความจำที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้
การขยายความคิด เมื่อเกิดความจำระยะสั้นแล้ว ต้องนำข้อมูลนั้นมาขยายความคิด โดยการจัดหมวดหมู่และให้ความ
หมายกับข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความจำระยะยาว
ความจำระยะยาว เป็นสุดยอดปรารถนาของการเรียนรู้ข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบอย่างดี โดยการแปลความหมาย สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงข้อมูล ข้อมูลใดที่ยังขาดความสัมพันธ์กันหรือมีช่องว่างอยู่ก็จะต้องพยายามขจัดช่องว่าง
โดยใช้หลักทางตรรกศาสตร์คือการหาเหตุผลและสร้างความสัมพันธ์
ระบบควบคุม มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ เป็นตัวควบคุมและเชื่อมโยงความจำระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งเป็นตัวกำ
หนดปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่ผู้เรียนจำและสามารถนำออกไปใช้ได้
การนำมาใช้บ่อย ๆ การนำข้อมูลมาใช้บ่อย ๆ เพื่อเป็นการย้ำในขันการจำระยะสั้นและเพื่อใช้สำหรับการตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2.2 องค์ประกอบของการเรียนรู้
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยการประมวลสารสนเทศ ซึ่งนักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมให้ความสำคัญมี 4 ประการ คือ
(1) คุณลักษณะของผู้เรียน คือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน เช่น ความรู้เดิม ทัศนคติ
(2) กิจกรรมของผู้เรียน ในส่วนนี้จะเกี่ยวกับขบวนการใช้สมองของผู้เรียนในขณะเกิดการเรียนรู้ โดยพิจารณาว่าผู้เรียนจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
(3) ธรรมชาติของสิ่งที่เรียน คือข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลประเภทใด มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาดีมากน้อย
เพียงใด เป็นต้น
(4) วิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน คือลักษณะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนแสดงออกมาเมื่อเรียนรู้แล้ว

3. การเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง (Metacognition)
นักจิตวิทยากลุ่มพุทธินิยม เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อผู้รียนควบคุมตนเองได้ ลักษณะดังกล่าวนี้ฟลาแวล
ได้เป็นผู้อธิบายไว้โดยเน้นถึงกระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องอาศัยความสามารถทางปัญญา โดยเขาใช้คำว่า (Metacognition) เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนจะต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตนเอง

3.1 องค์ประกอบของความรู้
ฟลาแวล ได้อธิบายว่าองค์ประกอบของความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนความคิดของตนเองนั้น จะมี 3 ประการ คือ

(1) องค์ประกอบด้านบุคคล คือความรู้ความเข้าใจในความสามารถของผู้เรียน ว่าตนเองมีคุณสมบัติและมีความสามารถอยู่ในระดับใด
(2) องค์ประกอบด้านงาน คือลักษณะของงานที่จะต้องเรียนรู้
(3) องค์ประกอบด้านยุทธวิธี คือเทคนิคหรือวิธีการที่ผู้เรียนเลือกใช้ในการเรียนรู้งานนั้น

4. การเรียนโดยรู้ความหมาย
แนวความคิดในการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากบรูนเนอร์ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เพราะ
ผู้เรียนสามารถแปลความหมายของข้อมูลโดยใช้ประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในระดับ
ของความคิดรวบยอด หลักการ กฎเกณฑ์ สมมุติฐาน ความสัมพันธ์ ฯลฯ ผู้เรียนจะต้องอาศัยการแปลความหมายด้วย
ตนเอง ซึ่งอาจจะมีการเพิ่ม การตัด การขยาย การดัดแปลงข้อมูลนั้น ๆ

4.1 ความเชื่อพื้นฐาน
นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้เชื่อว่า ครูไม่สามารถให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ เพราะความรู้นั้นผู้เรียนจะต้องเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง ดังนั้นครูผู้สอนต้องสอนข้อมูลที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับผู้เรียน การสอนที่ดีจะต้องให้ผู้เรียนค้นพบและ
นำมาประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง หน้าที่ที่สำคัญของผู้เรียน คือจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลใหม่กับข้อมูลเดิมอย่างอย่าง
สม่ำเสมอ และเมื่อใดก็ตามที่พบว่าข้อมูลเดิมใช้ไม่ได้ต้องรีบทำการปรับปรุงแก้ไข หน้าที่สำคัญของครูผู้สอนคือสอน
ให้ผู้เรียนรู้จักคิด และต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ความรู้นั้นเป็นกระบวนการมิใช่ผลผลิตที่สำเร็จรูป

4.2 เงื่อนไขในการเรียนรู้
การเรียนรู้โดยรู้ความหมายจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการฝึกภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

(1) การฝึกหัดวิธีคิด ผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดโดยการสร้างปัญหาและเงื่อนไขของ
ปัญหาที่เป็นจริง และพยายามฝึกการแก้ปัญหาโดยมองหลาย ๆ ด้าน
(2) เนื้อหาที่ใช้เรียนนั้นต้องเป็นเนื้อหาที่เป็นจริง โดยการเรียนในเนื้อหานั้นต้องเน้น
ให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาโดยใช้ทักษะและข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลาย
(3) ผู้เรียนควรมีวิธีการคิดและการแก้ปัญหาในหลายทาง เพื่อเป็นการฝึกไว้เพราะในชีวิต
จริงคนเราจะมีปัญหาหลายด้าน รวมทั้งความคิดและข้อมูลต่าง ๆ ก็มีมากมายที่ผู้เรียนจะ
ต้องรู้จักคิดวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

การนำแนวความคิดกลุ่มพุทธินิยมมาใช้กับการศึกษา

ความเชื่อพื้นฐาน
ตัวอย่าง
การนำมาใช้ทางการศึกษา
อิทธิพลของกระบวนการ
ทางสมอง




เมื่อดิเรกอ่านตำราวิทยาศาสตร์เขา
สามารถนำบางทฤษฎีมาสร้างความ
สัมพันธ์กับส่างที่เขาสังเกตเห็นได้
แต่ก็มีหลายทฤษฎีที่เขาไม่สามารถ
สร้างความสัมพันธ์ได้
จงระลึกไว้ว่าสิ่งที่ผู้เรียนเรียนนั้น
มิใช่เป็นเรื่องขอข้อมูลที่ปรากฏ
อย่างเดียว แต่เป็นกรรมวิธีในการ
เก็บข้อมูล

การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
ที่เกิดขึ้นภายใน



ดิเรกเรียนรู้ว่า ดาวเสาร์มีวงแหวน
อยู่ล้อมรอบ แต่เขาไม่มีโอกาส
ได้ถ่ายทอดความรู้นี้ให้เพื่อน ๆ
ในชั้นเรียน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงสิ่ง
ที่เขาได้เรียนรู้มาแล้ว


การวินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องกระ
บวนการทางสมอง ต้องสังเกต
จากพฤติกรรม



เมื่อดิเรกเขียนคำว่า พฤติกรรม
ภายในเป็นภาษาอังกฤษ ดิเรก
เขียนว่า Convertbehavior แสดงว่าเขาจำสับสนกับชื่อ
ยี่ห้อรองเท้าชนิดหนึ่ง
สังเกตดูพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อ
นำมาพิจารณาว่าข้อผิดพลาดเกิด
จากอะไร


ความเป็นหนึ่งเดียวของการ
เรียนรู้ของมนุษย์
ดิเรกเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์
ปัจจุบันจากการอ่านหนังสือ
พิมพ์รายสัปดาห์
เรียนเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ที่
มนุษย์ทุกคนใช้
ตัวกระตุ้นที่เกี่ยวข้องกับการ
เรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ดิเรกเรียนวิธีการออกเสียงภาษา
อังกฤษโดยออกเสียงดัง เขียน
ซ้ำๆ กันหลายครั้ง และคิดว่า
มีคำใดบ้างที่ออกเสียงใน
ลักษณะเดียวกัน
กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับ
ข้อมูลในชั้นเรียนและช่วยให้
เขามีพัฒนาทักษะในการเรียน
อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกสิ่งที่จะเรียนรู้
ดิเรกรู้ว่าเขาไม่สามารถจำทุกอย่าง
ในตำราคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นเขา
จึงเลือกจำเฉพาะสูตรที่สำคัญ
บอกผู้เรียนว่าสิ่งใดที่สำคัญ
ที่เขาจะต้องรู้
การแปลความหมายของบุคคล
ดิเรกแปลความหมายว่าการที่เขา
ได้คะแนนเต็มจากการทดสอบ
แสดงว่าเขาต้องได้เกรด A
ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าการ
แปลความหมายของผู้เรียนถูก
ต้องเหมาะสม





อ้างอิง : Digital Library of King Mongkut's University of Technology Thonburi.2545.ทฤษฎีการเรียนรู้. [Online]. Available:
URL : http://digital.lib.kmutt.ac.th/Class/Education/Study_Technology/project_phycology/unit9.htm


แป้ง..พรรณิดา  ผุสดี  การศึกษาปฐมวัยหมู่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น